ปรัชญาจีนเชื่อว่าธรรมชาติทุกอย่างมีหยินกับหยางอยู่ในตัวเพื่อให้เกิดความสมดุล หยินหยางเป็นตัวแทนของพลังแห่งจักรวาลสองด้านหยินคือ ความเป็นผู้หญิง ความอ่อนโยน สีดำ ความมืด แปลกมั้ยที่สีดำและความมืดสื่อถึงความหญิงความนิ่ม ความบอบบาง ส่วนหยางคือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหยิน ได้แก่ผู้ชาย สีขาวความร้อน ความสว่าง ดวงอาทิตย์ หากสิ่งใดมีหยินและหยางไม่สมดุลกันก็จะทำให้เกิดปัญหา เช่น มนุษย์ที่เสียสมดุลระหว่างหยินหยางก็จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยหากมีการเสียสมดุลมากๆต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน อาจนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรงต่างๆรวมถึงมะเร็งอีกด้วย
ในทุกสิ่งทุกอย่างจะมีทั้งหยินและหยางในความร้อนก็จะมีความเย็น และในความเย็นก็จะมีความร้อนแฝงอยู่ เมื่อเผาถ่านไม้สีดำก็ได้จะขี้เถ้าสีขาวแม้แต่ในอาหารการกิน ชาวจีนยังจัดให้มีความสมดุลระหว่างหยินและหยาง เพื่อความสมดุลของสุขภาพร่างกายและเมื่อร่างกายเจ็บป่วยแพทย์จีนก็ยังทำการรักษาโดยแบ่งโรคต่างๆ ออกเป็นโรคหยินและโรคหยาง อาทิ โรคหวัด ก็มีทั้งหวัดหยินและหวัดหยาง บางท่านเมื่ออากาศร้อนจะป่วยแต่บางท่านเมื่อโดนฝนหรือลมหนาวจึงป่วย ดังนั้นการให้ยาเพื่อรักษาก็จะต่างกันหัวใจสำคัญของการดูแลสุขภาพจึงอยู่ที่สมดุลร้อน เย็นของร่างกายซึ่งอยู่ที่การเลือกอาหารการกินของเราเอง
แพทย์ จีนได้กล่าวไว้ว่า การเสียสมดุล เนื่องจากเชื้อโรคหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายมีหยินหรือหยางมากเกินไปเมื่อร่างกายเสียสมดุลจะส่งผลให้อารมณ์เสียสมดุลตามไปด้วย ดังนั้น การรักษาจึงเน้นไปที่การปรับสมดุลเพราะสมดุลเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพดีการปรับสมดุูลของแพทย์แผนจีนมีหลายวิธี แต่วิธีที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันดี ก็คือ การฝังเข็ม (การฝังเข็มยังช่วยให้เลือดลมเดินดี ผิวพรรณผ่องใสลบเลือนริ้วรอยอีกด้วย)และการใช้สมุนไพรชาวจีนโบราณได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งการใช้สมุนไพรบำบัดโรค
การใช้สมุนไพรของชาวจีนมีทั้งแบบที่ใช้เดี่ยว ๆ เช่น การชงเป็นชาหรือใช้สมุนไพรหลาย ๆ ตัวมาเข้าเป็นตำรับยา อาจใช้ประกอบอาหารหรือดองเหล้าการใช้สมุนไพรหลาย ๆ ตัวมาประกอบกัน ก็เพื่อปรับฤทธิ์และสรรพคุณของสมุนไพรเพื่อให้ได้สรรพคุณตามต้องการเพื่อใช้ในการปรับสมดุลของร่างกาย นอกจากจะช่วยฟื้นฟูระบบไหลเวียนของเลือดลมแล้วยังช่วยปรับสภาวะร้อนหรือเย็นเกินไปของร่างกายอีกด้วย จึงอาจพูดได้ว่าสมุนไพรจีนให้สรรพคุณทั้งการบำบัดและบำรุงในขณะเดียวกัน การใช้สมุนไพรปรุงร่วมกับอาหาร การปรับสมดุลโดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นเพราะรสชาติอาหารจะทำให้กินยาหรือสมุนไพรได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างอาหารฤทธิ์อุ่นเช่น กุ้ยช่าย เกาลัค ถั่วดำ ถั่วแดง ขิง องุ่นอาหารฤทธิ์เย็นเช่น คื่นช่าย (ฝรั่งเรียกเซเลอรี่) ถั่วเขียว เก็กฮวย ปวยเล้ง กำเช่า(ชะเอมเทศ) จับเลี้ยง เป็นต้น
▲