ใช่หรือไม่ใช่ร้อนในกันแน่?
Room : How To
เรื่องกล้วยกล้วย | ผิวแพ้ง่าย | > 50 Yrs | 0 รีวิว 15/12/2012 10:34     

ร้อนในมิได้หมายถึงอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นแต่อย่างใด อาการตัวร้อนอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับร้อนในก็ได้อาการร้อนใน มีผู้เข้าใจว่าเป็นเพียงอาการที่ในปากเป็นแผลลักษณะเป็นดวงหรือจุดขาวใหญ่เท่าหรือใหญ่กว่า เม็ดถั่วเขียวและเจ็บที่แผลแบบปวดแสบปวดร้อน ซึ่งก็ถูกต้องแต่เป็นเพียงส่วนน้อยต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการร้อนใน โดยทั่วไปเกิดจากการรับประทานอาหาร


อาการร้อนในเป็นกลุ่มอาการที่แสดงออกดังนี้ตาแฉะมีขี้ตามากหลังตื่นนอน / เจ็บที่เหงือกเหงือกเป็นแผล กระพุ้งแก้มด้านใน ริมฝีปากด้านในเป็นแผล / ลิ้นแตก เป็นแผล /ลมหายใจร้อน / คอแห้ง ปากขม กระหายน้ำ / เจ็บคอ บางครั้งมีอาการไอ (ไอร้อน)มีเสมหะเหลืองข้น / เมื่อยตามตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกรุม ๆ คล้ายจะเป็นไข้ /ท้องผูก ถ่ายค่อนข้างลำบาก


มีอาการบางอย่างซึ่งไม่ใช้ร้อนในแต่เข้าใจผิดว่าเป็นอาการร้อนใน เช่น ตัวร้อนมากเป็นไข้สูง / ไข้ทับระดู / คันคอ ไอแห้งๆไม่มีเสมหะ ไม่กระหายน้ำ (ไอเย็น) / ปากจืด ลิ้นมีฝ้าขาว / คออักเสบ / ไอมากหลังเป็นหวัด / เป็นหวัด น้ำมูกไหล หรือน้ำมูกคั่งจมูก / ปวดหัวเนื่องจากหวัด /ท้องอืด ท้องเฟ้อ


สำหรับคนที่มีอาการร้อนในไม่มากวิธีแก้ไขคือ การกินอาหารบางอย่างเข้าไปก็ช่วยได้ อย่าพวก มะระฟักเขียว ผักต่างๆ ซึ่งอาจจะนำมาต้ม เป็นน้ำแกง โดยใส่เนื้อต่างๆ ลงไปด้วยหรือจะลวกกินก็ได้เมื่อรู้หลักการหรือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติแล้วท่านก็สามารถจะกินอาหารทุกชนิด ทุกอย่าง ได้โดยไม่มีปัญหา


ตัวอย่างอาหารที่มีลักษณะเป็นหยิน ปู เป็ด ห่าน กล้วย ถั่วเขียว เต้าหู้แตงกวา ส้ม สาลี่ ฟักทอง เกลือ ผักโขม อ้อย ส้มจีน แตงโม มะเขือเทศ คึ่นฉ่ายน้ำมะพร้าว องุ่น มะกอก สับปะรด ผักกาดหอม ลูกพลับ เม็ดแมงลัก ฟัก เฉาก๊วย เก็กฮวยหล่อฮังก้วย จับเลี้ยง


ตัวอย่างอาหารที่มีลักษณะเป็นหยางเนื้อวัว หมู ไก่ แพะ สุนัข งู เกาลัด พริก กระเทียม ขิง หอม พริกไทยใบโหระพา ใบแมงลัก ทุเรียน ขนุน ลำไย ลิ้นจี่ เนื้อมะพร้าว


วิธีป้องกันวิธีจะป้องกันไม่ให้เกิดอาการร้อนในก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมนั่นคือท่านจะต้องรู้ร่างกายของตัวเองก่อนว่าเป็นยินหรือเป็นหยางมากกว่ากันตอนนี้อากาศ เป็นอย่างไร จะกินอาหารอะไร จึงจะสอดคล้องกันคือพยายามปรับสมดุลให้ได้ อาการร้อนใน ก็จะไม่เกิดขึ้น


วิธีการรักษาอาการร้อนใน
  1. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด มัน หรืออาหารทอด
  2. ดื่มน้ำเยอะๆ เพราะคนที่เป็นร้อนใน น้ำลายจะเหนียวข้น และรู้สึกกระหายน้ำ
  3. ทายาในกลุ่มสเตียรอยด์ ไตรแอมซิโนโลน อะเซโตไนต์ เช่น Kenalog, Trinolone ป้ายปากที่ผสมขึ้ผึ้ง ยาพวกนี้จะไปอุดแผล ไม่ให้กระทบกระเทือนมากแผลจะได้หายไวๆ หรือยาที่เป็นยาชาอ่อนๆ เช่นพวกเจล Bonjela จะช่วยบรรเทาอาการปวดลดลง
  4. ใช้น้ำอุ่นผสมเกลือ กลั้วปาก เช้าเย็น ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนได้บ้าง
  5. ยาแผนโบราณเช่น ยาขม ยาเขียว หรือ ยาหวานต่างๆ จะชงหรือเม็ดรับประทานก็ได้ไม่แนะนำให้รับประทานยาแก้อักเสบแผนปัจจุบัน เช่น amoxicillin เพราะเป็นยาฆ่าเชื้อ ไม่ตรงกับความต้องการรักษาโรค

 

ในบางคนอาจจะต้มถั่วเขียวรับประทานวันละ 1 ถ้วย ต้มน้ำจับเลี้ยง เก็กฮวยหรือหล่อฮั่งก้วยรับประทานเอง เพื่อปรับสมดุลหยินและหยางในร่างกายก็ได้อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสังเกตเห็นว่าเริ่มมีอาการผิดปกติมากกว่าร้อนในธรรมดาคือมีไข้สูงมาก เป็นเรื้อรังเกินกว่า 2 อาทิตย์ หรือเป็นแผลแต่ไม่รู้สึกปวดหรือแสบร้อนให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าอาการแผลในปากที่เราเป็นนั้นเพราะบางทีอาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของโรคอื่นๆก็เป็นได้

 
ที่มา http://prapaneethai.blogspot.com/2011/08/blog-post_04.html




Comment (1)

comment 1
ออกัส | ผิวมัน | 45-49 Yrs | 182 รีวิว 13/05/2014 10:48     

มีประโยชน์มากคะ

Post Comment



- view all -

THE HIGHLIGHTER

- view all -