โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมรักษายังไง? เกิดจากนั่งตรงเกินไปจริงหรือ?
Room : Others
digitallibrary | ผิวธรรมดา | 30-34 Yrs | 0 รีวิว 06/08/2020 16:34     




โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมนั้นเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตของคนที่เริ่มมีอายุเลยก็ว่าได้ ซึ่งหากใครเป็นโรคนี้แล้วก็อาจทำเกิดอาการปวดหลัง ปวดลำคอ หรือบางคนอาจลามไปยังส่วนอื่น ๆ อย่างแขน ขา และสะโพก จึงให้เป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตได้พอสมควร ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้ก็คืออายุที่มากขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน แต่โรคนี้ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถรักษาได้ ในบทความนี้เราจึงอยากจะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมกันว่า โรคนี้มีอาการอย่างไร เกิดจากอะไร และสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง


อาการของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

อาการที่สามารถพบได้บ่อยเลยก็คืออาการปวดหลังบริเวณส่วนล่างและปวดลำคอ โดยในบางรายอาจลามไปถึงการปวดแขน ขา สะโพก หรือมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง และอาจทำให้เกิดอาการชาได้ นอกจากนี้ก็อาจมีการปวดมากขึ้นหากมีการก้ม เอื้อม หรือเอี้ยวตัว สำหรับบางคนอาจจะไม่ได้มีอาการปวดทุกวัน แต่จะเป็น ๆ หาย ๆ ดังนั้นควรสังเกตว่ามีอาการเรื้อรังอย่างการปวดแบบเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหายเป็นเวลานับเดือนหรือไม่


สาเหตุเกิดจากอะไร?

การนั่งหลังตรงเกินไปก็อาจทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้ เนื่องจากปกติแล้วเวลาที่เรานั่งหลังตรงมาก ๆ ก็จะมีการเกร็งแบบไม่รู้ตัวร่วมด้วย นอกจากนี้หากนั่งท่าเดิมนาน ๆ เกินไปก็อาจทำให้เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ส่วนอายุที่มากขึ้นก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เป็นโรคนี้เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น น้ำในหมอนรองกระดูกและความยืดหยุ่นก็จะลดลง และทำให้ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้แบบเดิม จึงทำให้เกิดอาการปวดตามมา โดยการเสื่อมสภาพในลักษณะนี้มักจะเกิดกับคนที่มีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป นอกจากนี้การทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกดบริเวณหมอนรองกระดูกซ้ำ ๆ ก็อาจทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมลง รวมถึงอุบัติเหตุ และโรคอ้วนด้วยเช่นกัน


มีวิธีการรักษาอย่างไร?

หากมีอาการปวดไม่มาก อาจใช้วิธีการประคบร้อนหรือประคบเย็นก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ หรืออาจมีการใช้ยาในกลุ่มพาราเซตามอลหรือยาแก้อักเสบอย่างไอบูโพรเฟนร่วมด้วย แต่หากอาการยังไม่บรรเทาลงก็ควรทำการพบแพทย์ โดยแพทย์อาจให้ยาแก้อักเสบที่ออกฤทธิ์แรงกว่า หรือทำกายภาพบำบัด แต่หากในรายที่ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมอย่างรุนแรง อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเป็นหมอนรองกระดูกเทียม หรือเชื่อมข้อกระดูกสันหลังเข้าด้วยกัน


ถึงแม้ว่าโรคนี้อาจไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตเหมือนโรคอื่น ๆ แต่ก็อาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ เพราะฉะนั้นเราควรหมั่นออกกำลังกาย ยืดเส้นยืดสาย นั่งในท่าที่สบายไม่เกร็งจนเกินไป และหากต้องนั่งทำงานนาน ๆ ก็ควรเลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระของตัวเอง





Comment (0)
Post Comment



- view all -

THE HIGHLIGHTER

- view all -