การโปรยทานเป็นการทำทานอย่างหนึ่งมักนิยมโปรยทานตามงานบวชและงานศพ สมัยก่อนจะนิยมโปรยเป็นเหรียญเงิน ส่วนมากจะนิยมใช้เหรียญ 1 บาทซึ่งเมื่อโปรยลงมาแล้วทำให้ผู้รอรับหาไม่เจอหรือหาเจอก็เก็บรวมกับเงินเดิมของตัวเองจนไม่รู้ว่าเหรียญโปรยทานคือเหรียญไหน
ปัจจุบันจึงแก้ไขด้วยการห่อเหรียญด้วยผ้า, กระดาษ หรือริบบิ้น เพื่อให้มองเห็นง่ายๆพร้อมกับทำเป็นรูปร่างต่างๆ
จนกลายเป็นธุรกิจทำรายได้ได้อีก เหรียญโปรยทานงานบวช งานบุญ งานมงคลจะนิยมใช้เป็นสีสดใส ส่วนเหรียญโปรยทานงานศพจะนิยมใช้สีขาว สีดำ เป็นหลัก แต่ก็มีบางงานที่เจ้าภาพชอบสีสดใสก็สามารถใช้สีได้ เหรียญโปรยทานที่เก็บมาได้ บางคนก็เอามาบูชาพระทุกวันเพราะเชื่อว่าจะทำให้ค้าขายร่ำรวยหรือบางคนนำไปบริจาคทำบุญให้กับวัด ก็ได้บุญกุศลอีกต่อหนึ่ง
การใช้เหรียญโปรยทานในงานบวชถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการบวชแต่ละครั้งเปรียบเสมือนการที่ผู้บวชหรือนาคกำลังก้าวเข้าสู่ร่มเงากาสาวพัสตร์โดยก่อนที่นาคจะเข้าโบสถ์ นาคจะทำการโปรยทานด้วยเหรียญโปรยทานเสียก่อน ซึ่งพิธีการโปรยทานนั้นเปรียบเสมือนการแสดงความตั้งใจจริงของนาคที่จะศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยพร้อมที่จะสละแล้วซึ่งสินทรัพย์และกิเลสทั้งปวงและพร้อมที่จะเผยแพร่ศาสนาตามแนวทางของพระพุทธเจ้า
การใช้เหรียญโปรยทานนอกจากจะใช้ในพิธีงานบวชแล้ว ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ในประเพณีการแต่งงาน ขั้นตอนนี้แฝงอยู่ในพิธีที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือการกั้นประตูเงินประตูทองโดยเหรียญโปรยทานในขั้นตอนนี้จะถูกประยุกต์ใช้เป็น ‘ซองมงคล’ที่จะมีเงินถูกบรรจุไว้ในซองสีสวยหวานซึ่งซองมงคลนี้จะเป็นซองที่เจ้าบ่าวต้องมอบให้กับผู้ที่มากั้นประตูเงินประตูทองนั่นเอง
เหรียญโปรยงานศพ การโปรยทานก็ถือเป็นสวนหนึ่งที่นิยมทำกันในงานศพตามประเพณีไทยเนื่องจากการโปรยทานนั้นจะเปรียบเสมือนการซื้อทางให้กับผู้วายชนม์และส่งให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วไปสู่ภพภูมิที่ดีและราบรื่นตลอดเส้นทางหลังการสิ้นชีพ
อ่านแล้วชอบบทความของ 39SUPPLY ร้านจำหน่ายกระดาษสาห่อเหรียญโปรยทานมีทั้งแบบแผ่น นำไปปั๊มเองแบบแผ่นปั๊มแล้ว นำไปแพ็คขายต่อ แบบแพ็คแล้ว พร้อมใช้งาน และฝากกด Like เพจและติดตามบทความดีๆของเราด้วยนะคะ
ขอบคุณบทความดีๆจาก : 39SUPPLY :: กระดาษสาห่อเหรียญโปรยทาน
▲